MTA Fire Barrier

เรื่องเสียงที่ต้องรู้

เรื่องเสียงที่ควรรู้

มลภาวะทางเสียง (Noise Pollution) คือ สภาวะแวดล้อมที่มีเรื่องเสียงดังอันไม่พึงประสงค์หรือเสียงรบกวนที่ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกลายเป็นภัยอันตรายต่อทั้งร่างกาย (เสียงที่มีความดังเกินกว่า 85 เดซิเบล)

เสียงดัง หมายถึง เสียงที่มีความดังจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินทั้งนี้กฎหมายแรงงานระบุให้ลูกจ้างที่ทำ งานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกัน ระดับเสียงที่ได้รับติดต่อกันไม่ให้เกิน 80 เดซิเบลเอ

เสียงดังอาจเป็นเสียงรบกวนได้ แต่เสียงรบกวนที่มีความดังต่ำ กว่า 80 เดซิเบลเอ ที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ไม่จัดเป็นเสียงอันตรายตามกฎหมายแรงงาน เสียงที่คาดว่าไม่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร คือเสียงดังระดับ 75 เดซิเบลเอ

โดยปกติคนสามารถรับฟังเสียงได้ในช่วงความถี่ใด

เสียงที่คนสามารถได้ยิน คือ เสียงที่ความถี่ระหว่าง 20-20,000 เฮิรตซ์ ถ้าความถี่ต่ำ มากจะเป็นคลื่นความสั่นสะเทือน ทั้งนี้คลื่นความถี่ต่ำ มากๆ เรียกว่า เสียงอินฟราโซนิค (Infrasonic) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการ ได้ยินหรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน แต่ถ้าความเข้มข้นสูงๆ จะมีผลทำให้มีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ส่วนเสียงที่มีความถี่สูงมากๆ เรียกว่าเสียงอุลตราโซนิค ( Ultrasonic) หูคนปกติจะไม่ได้ยิน

เสียงก้องคืออะไร

เสียงก้องคือ เสียงที่เดินทางกระทบวัตถุแต่ไม่ได้ถูกวัตถุซับเสียงไว้ทั้งหมด เสียงที่ไม่ได้ถูกซับจึงสะท้อนกลับไปยังแหล่งกำ เนิดเสียงหรือกระทบไปยังส่วนต่างๆในบริเวณพื้นที่ห้อง โดยปัจจัยเกี่ยวข้องกับเสียงสะท้อนมีทั้งพื้นที่ทั้งรูปร่างลักษณะของพื้นที่และวัสดุภายในห้อง

ปัญหาจากเสียงก้องในห้องประชุม

ห้องประชุมที่มีเสียงก้องเกินไป จะส่งผลให้ผู้เข้าร่วมประชุมฟังเสียงประชุมไม่ชัดเจน เกิดความเครียด ความรำ คาญ ไม่มีสมาธิในการประชุม ฯลฯ ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพของการประชุม จึงต้องแก้ไขปัญหาเสียงก้องไม่ให้เกินค่าที่มาตรฐานกำหนด

การเลือกวัสดุกันเสียงและซับเสียง

ฉนวนกันเสียง คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติ “ป้องกัน” ไม่ให้เสียงจากห้องหนึ่งทะลุไปอีกห้องหนึ่งได้ วัสดุส่วนใหญ่จะถูกใช้กับผนัง เช่น ผนังอิฐ ผนังโครงเบา เพื่อใช้กั้นห้องและป้องกันเสียงจากภายนอก

ฉนวนซับเสียง คือ วัสดุที่ ลดเสียงก้อง และ ลดเสียงสะท้อน เนื้อวัสดุมีรูพรุนภายในเมื่อเสียงมากระทบจะถูกดูดซับไว้ทำ ให้เสียงสะท้อนลดลง ส่วนใหญ่ทำ มาจาก ใยแก้ว ใยหิน ฟองน้ำหรือแผ่นโฟม และปิดผิวภายนอกด้วยผ้า หรือวัสดุกันความชื้น

ความแตกต่างของฉนวนกันเสียง และ ฉนวนซับเสียง

ฉนวนกันเสียงจะทำ หน้าที่ “ป้องกัน” ไม่ให้เสียงผ่านไปได้ช่วยแก้ปัญหา “เสียงดัง” จะพิจารณาจากค่า STC (Sound Transmission Class) เป็นหลัก

ฉนวนซับเสียง จะทำ หน้าที่ “ดูดซับ” เสียงภายในห้อง ช่วยแก้ปัญหาเรื่อง “เสียงสะท้อน” และ “เสียงก้อง” จะพิจารณาที่ค่า NRC (Noise Reduction Coefficient) และ ค่า SAC (Sound Absorbtion Coefficient) เป็นหลัก

การใช้งานฉนวนกันเสียง และ ฉนวนซับเสียง

ฉนวนกันเสียง

  • ห้องพัก หรือห้องนอน ห้องทำ งานที่ติดกับบริเวณที่มีเสียงดัง ครื่องจักร หรือ อาคารที่มีการทำ งานของเครื่องจักร

ฉนวนซับเสียง

  • ห้องประชุม ห้องสัมมนา โรงละคร โรงภาพยนต์ห้องคาราโอเกะ ห้องอัดเสียง

ฉนวนกันเสียงและฉนวนซับเสียง แนะนำ

ฉนวน Safe ’n’ Silent pro จาก ROCKWOOL

เป็นฉนวนกันเสียงและฉนวนกันความร้อน วัสดุเป็นฉนวนใยหิน ที่ผลิตขึ้นจากหินภูเขาไฟหลอมเหลว ความสามารถในการดูดซับเสียงที่ 90% (NRC 0.9) ช่วยให้ห้องที่ออกแบบผ่านมาตรฐานการวัดเสียง NC (Noise Criteria) ซึ่งเป็นข้อกำ หนดในการออกแบบห้อง

เรื่องเสียงที่ควรรู้

มลภาวะทางเสียง (Noise Pollution) คือ สภาวะแวดล้อมที่มีเรื่องเสียงดังอันไม่พึงประสงค์หรือเสียงรบกวนที่ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกลายเป็นภัยอันตรายต่อทั้งร่างกาย
Hylo Music Presents

Sheri Houston

Livestream Concert

January 28th * 7pm